Home    |    Contact us    |    Features     |    Links       

โลหะจำรูป (Shape memory alloys)

สรุปและเรียบเรียงโดย คณาจารย์และนิสิต ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

บทนำ

โลหะจำรูปที่มีสมบัติในการคืนรูปภายหลังได้รับแรงกระทำทางกลจนเกิดการเสียรูปอย่างถาวร โดยสามารถกลับสู่รูปร่างเดิมเมื่อได้รับความร้อนหรืออุณหภูมิที่เหมาะสม โลหะจำรูปถูกค้นพบมาเป็นเวลานานกว่า 70 ปี ซึ่งจากการค้นคว้าของ Darjan (2007)[1] พบว่าปรากฏการณ์จำรูปถูกรายงานเป็นครั้งแรกโดย Chang และ Read ในปี1951 ซึ่งได้ค้นพบโลหะที่มีสมบัติการคืนรูป กล่าวคือ ถ้าโลหะกลุ่มนี้ถูกเปลี่ยนแปลงรูปร่างอย่างถาวรจะสามารถคืนกลับรูปเดิมได้เมื่อได้รับอุณหภูมิที่เหมาะสม ความสามารถในการจำรูปนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผลึกของโลหะ ซึ่งโลหะที่ใช้ในการทดลองคือโลหะผสมทองคำแคดเมียม (AuCd) ต่อมาในปี 1964 Buehlerและคณะได้ค้นพบโลหะผสมนิกเกิลไทเทเนียม (NiTi) และได้รับการพัฒนาต่อมาในต้นทศวรรษที่ 1960 โดยกองทัพสหรัฐอเมริกาเพื่อใช้ในกิจการอวกาศแห่งชาติอเมริกา (NASA) โดยใช้ชื่อว่า Nitinol เป็นการผสมระหว่างชื่อของโลหะ 2 ชนิด คือ นิกเกิล (Nickel, Ni) ไทเทเนียม (Titanium, Ti) และคำว่า Nol เป็นชื่อย่อของห้องทดลองที่ค้นพบ[2]

โดยส่วนใหญ่โลหะจำรูปคือโลหะที่มีโครงสร้างผลึกอย่างน้อย 2 โครงสร้าง ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงรูปจากโครงสร้างหนึ่งเป็นอีกโครงสร้างได้โดยการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างจากโครงสร้างมาร์เทนไซต์ (Martensite) เป็นโครงสร้างออสเทนไนต์ (Austenite) ทำให้โลหะชนิดนี้มีสมบัติสภาพยืดหยุ่นยิ่งยวด (Super Elasticity) และปรากฏการณ์การจดจำรูปร่าง (Shape Memory Effect)[2]

2 โครงสร้างจุลภาคและการเปลี่ยนเป็นโครงสร้างมาร์เทนไซต์[1]

ปัจจัยสำคัญที่ใช้อธิบายกลไกการจำรูปคือโครงสร้างของโลหะจำรูป ซึ่งประกอบด้วย 2 โครงสร้างหลัก คือโครงสร้างออสเทนไนต์ (Austenite)” เป็นโครงสร้างที่มีความเสถียรที่อุณหภูมิสูงและโครงสร้างมาร์เทนไซต์ (Martensite)” โครงสร้างที่มีความเสถียรที่อุณหภูมิต่ำ ซึ่งการเปลี่ยนเป็นโครงสร้างมาร์เทนไซต์นั้น (Martensitic Transformation) เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้โลหะจำรูปสามารถคืนกลับสู่รูปร่างเดิมได้ จากรูปที่ 1 แสดงให้เห็นว่า ในโลหะจำรูปจะเกิดโครงสร้างออสเทนไนต์ที่มีโครงสร้างผลึกแบบ cubic ที่อุณหภูมิสูง โดยหลังจากอุณหภูมิลดลงและเกิดการคายความร้อนออกโครงสร้างของโลหะจำรูปจะเปลี่ยนเป็นโครงสร้างมาร์เทนไซต์ที่เกิดตำหนิแบบทวิน (Twinned Martensite) และมีโครงสร้างผลึกแบบ Monoclinic ซึ่งเมื่อออกแรงกระทำกับโครงสร้างที่เป็นโครงสร้างทวินมาร์เทนไซต์จะทำให้โครงสร้างยืดออกกลายเป็นโครงสร้างดีทวินมาร์เทนไซต์ (Detwinned Martensite)

รูปที่ 1 โครงสร้างของโลหะจำรูป [1]

รูปที่ 1 โครงสร้างของโลหะจำรูป [1]

 จากที่กล่าวมาข้างต้นจะพบว่าเมื่อลดอุณหภูมิโดยไม่อาศัยแรงทางกลจะส่งผลให้โครงสร้างออสเทนไนต์เปลี่ยนเป็นโครงสร้างทวินมาร์เทนไซต์ ซึ่งปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเป็นปฏิกิริยาที่สามารถย้อนกลับได้ (Reverse Martensitic Transformation) กล่าวคือ หากให้ความร้อนกับโครงสร้างทวินมาร์เทนไซต์จะทำให้โครงสร้างเปลี่ยนกลับไปเป็นออสเทนไนต์ได้เช่นกันดังแสดงในรูปที่ 2 ซึ่งจากปรากฏการณ์ดังกล่าวจะพบว่ามีอุณหภูมิที่เกี่ยวข้องอยู่ 4 จุดดังนี้

รูปที่ 2 การเปลี่ยนโครงสร้างเนื่องจากอุณหภูมิ[1]

1) Msเป็นอุณหภูมิที่เริ่มเปลี่ยนจากโครงสร้างออสเทนไนต์เป็นโครงสร้างมาร์เทนไซต์
2) Mfเป็นอุณหภูมิที่เปลี่ยนเป็นโครงสร้างมาร์เทนไซต์ได้อย่างสมบูรณ์
3) Asเป็นอุณหภูมิที่เริ่มเปลี่ยนจากโครงสร้างมาร์เทนไซต์เป็นโครงสร้างออสเทนไนต์
4) Afเป็นอุณหภูมิที่เปลี่ยนเป็นโครงสร้างออสเทนไนต์ได้อย่างสมบูรณ์

รูปที่ 3 Hysteresis curve ของโลหะจำรูปโดยแกน x คืออุณหภูมิ และแกน y คือสัดส่วนของโครงสร้างมาร์เทนไซต์[1]

เราสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างระหว่างออสเทนไนต์กับมาร์เทนไซต์ได้โดยการใช้กราฟฮิสเทอริซิส (Hysteresis curve) ซึ่งใช้อธิบายพฤติกรรมการเปลี่ยนโครงสร้างของโลหะจำรูปได้เป็นอย่างดีดังแสดงในรูปที่ 3 จะพบว่าวัสดุสามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกลับไปกลับมาได้เรื่อยๆหากไม่ใช้งานโลหะจำรูปที่อุณหภูมิสูงเกินไปและอุณหภูมิระหว่างการเกิดปฏิกิริยาไปข้างหน้าและย้อนกลับนั่นมีอุณหภูมิต่างกันเพียง 10 ถึง 50°C เท่านั้นขึ้นอยู่กับชนิดของโลหะจำรูป
การเปลี่ยนโครงสร้างเป็นมาร์เทนไซต์นั้น (Martensitic Transformation) เป็นกลไกสำคัญของสมบัติจำรูป โดยจากรูปที่ 4 จะพบว่าการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโลหะจำรูปจากออสเทนไนต์เป็นมาร์เทนไซต์นั้นเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วจนไม่ต้องอาศัยการแพร่ (Diffusion Less Transformation) ของอะตอมแต่อาศัยการเคลื่อนที่ของอะตอมไปพร้อมกัน ซึ่งปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วนั้น ทำให้อะตอมเกิดการเคลื่อนที่ไปได้น้อยมาก ซึ่งอาจน้อยกว่าขนาดของ Lattice Parameter อีกด้วย โดยปกติขณะที่เกิดการเปลี่ยนโครงสร้างจากออสเทนไนต์ที่มีความสมมาตรของโครงสร้างสูงกลายไปเป็นโครงสร้างมาร์เทนไซต์ที่มีความสมมาตรต่ำนั้น จะต้องเกิดการยืดออกเพื่อลดพลังงานในระบบ (Strain Energy) แต่เนื่องจากการเปลี่ยนเป็นโครงสร้างมาร์เทนไซต์เกิดขึ้นได้รวดเร็วมากและเป็นปฏิกิริยาที่ไม่ใช้การแพร่ ดังนั้นขนาดของ Lattice Parameter จึงเปลี่ยนไปได้น้อยมาก ส่งผลให้เกิดแรงเฉือนขึ้นในโครงสร้างของโครงสร้างมาร์เทนไซต์ แต่ในระบบโครงสร้างต้องการลดพลังงานดังกล่าวลงจึงเกิดตำหนิแบบทวินขึ้นทำให้ได้โครงสร้างดังรูปที่ 4 เพื่อทำให้ขนาดของ Lattice Parameter เปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของ Nitinol ดังแสดงในรูปที่ 4 พบว่าเมื่ออุณหภูมิสูง Nitinol จะมีโครงสร้างแบบ BCC (กล่องสีเทาด้านซ้าย) และเมื่ออุณหภูมิต่ำลงจะเปลี่ยนเป็นโครงสร้างแบบ Tetragonal (กล่องสีเทาด้านขวา) ซึ่งพบว่าโครงสร้าง Tetragonal มีขนาดของ Lattice Parameter เปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อยเท่านั้นเมื่อเทียบกับกล่องกรอบสีดำทางด้านซ้ายมือ

รูปที่ 4 การเปลี่ยนโครงสร้างของ Nitinol จากโครงสร้างแบบ BCC กล่องสีเทาทางด้านซ้าย ไปเป็นโครงสร้างแบบ Tetragonal ทางด้านขวาและขนาด Lattice Parameter เมื่อเทียบกล่องกรอบสีดำทางด้านซ้ายและด้านขวา[1]

จากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างโดยไม่อาศัยการแพร่ทำให้เกิดโครงสร้างทวินมาร์เทนไซต์ขึ้น โดยโครงสร้างดังกล่าวจะประกอบไปด้วย Variant ของโครงสร้างมาร์เทนไซต์ที่เกิดขึ้นจากการเรียงตัวของแผ่นมาร์เทนไซต์ในทิศทางที่แตกต่างกันดังแสดงในรูปที่ 5 (a) จะพบว่ามี Variant 2 ชนิดคือชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 โดยขณะที่ออกแรงกระทำกับโครงสร้างทวินมาร์เทนไซต์นั้นจะเกิดการยึดออก ทำให้เกิดโครงสร้างดีทวินมาร์เทนไซต์ขึ้นเนื่องมาจาก Variant เกิดการเคลื่อนที่และเติบโตขึ้น โดยทิศทางของแรงกระทำนั้นจะส่งผลต่อการเติบโตของ Variant หากแรงที่กระทำมีทิศทางเดียวกับทิศทางที่ Variant ใดวางตัวอยู่ Variant นั้นก็จะเกิดการเติบโตขึ้นได้ง่ายดังแสดงในรูปที่ 5 (b) (c) และ (d) พบว่า Variant 1 จะสามารถเติบโตได้ดีหากได้รับแรงดึง และ Variant 2 จะเติบโตได้ดีหากได้รับแรงกด กลไกที่เกิดขึ้นนี้นอกจากจะช่วยทำให้เกิดโครงสร้างแบบดีทวินมาร์เทนไซต์ขึ้นแล้วยังส่งผลต่อความสามารถในการคืนกลับไปเป็นโครงสร้างออสเทนไนต์หากได้รับความร้อนอีกด้วย

รูปที่ 5 การเติบโตของ Variant ในโครงสร้างทวินมาร์เทนไซต์ (a) แสดงลักษณะของ Variant ที่เกิดใน โครงสร้างโครงสร้างทวินมาร์เทนไซต์ (b), (c) และ (d) แสดงการเติบโตของ Variant เมื่อได้รับแรงกระทำต่างกัน[1]

จากปรากฏการณ์ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นสามารถสรุปได้ดังกราฟที่แสดงในรูปที่ 6 จะพบว่าจากตำแหน่งที่ 1 ถึงตำแหน่งที่ 2 เป็นการเปลี่ยนโครงสร้างจาก “ออสเทนไนต์” เป็น “มาร์เทนไซต์” โดยการลดอุณหภูมิซึ่งในโครงสร้างแสดงให้เห็นว่าขนาดของชิ้นงานเปลี่ยนแปลงไปไม่มากนักและโครงสร้างมาร์เทนไซต์ที่เกิดขึ้นยังมี Variant เกิดขึ้นในหลายทิศทางซึ่งเรียกโครงสร้างที่เกิดขึ้นนี้ว่า “ทวินมาร์เทนไซต์” จากนั้นเมื่อให้แรงภายนอกกระทำกับโลหะจำรูปจากตำแหน่งที่ 2 ไปตำแหน่งที่ 3 พบว่า Variant เกิดการเคลื่อนที่และเติบโตขึ้นเมื่อออกแรงดึงโลหะจำรูป Variant A สามารถเกิดการเติบโตได้ดีกว่า Variant ชนิดอื่น เนื่องจากวางตัวอยู่แนวเดียวกับทิศทางการรับแรงส่งผลให้เกิดโครงสร้างที่เรียกว่า “ดีทวินมาร์เทนไซต์” ขึ้นโดยมี Variant A เป็นหลักและเมื่อคลายความเค้นออกจากตำแหน่งที่ 3 ไปตำแหน่งที่ 4 โลหะจำรูปจะคงโครงสร้างนี้ไว้และเมื่อได้รับความร้อนก็จะสามารถเปลี่ยนกลับไปเป็นโครงสร้างออสเทนไนต์ได้อีก ซึ่งปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ถูกเรียกว่า “ปรากฏการณ์การจดจำรูปร่าง (Shape Memory Effect)”

รูปที่ 6 ปรากฏการณ์การจดจำรูป (Shape Memory Effect) [1]

3 ปรากฏการณ์การจดจำรูปและสภาพยืดหยุ่นยิ่งยวด

จากปรากฏการณ์ที่เรียกว่าปรากฏการณ์การจดจำรูป (Shape Memory Effect) ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่เมื่อให้แรงหรือเปลี่ยนรูปร่างโลหะไปแล้วโลหะสามารถกลับคืนรูปร่างตัวเองได้เมื่อให้ความร้อนถึงอุณหภูมิที่เหมาะสมปรากฏการณ์การจดจำรูปสามารถแบ่งตามการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากอุณหภูมิได้เป็น 2 แบบ คือ การจำรูปแบบทิศทางเดียว (One-way Shape Memory Effect) กล่าวคือ ถ้าเรานำสปริงจำรูปที่เดิมหดสั้นมาดึงให้ยืดออกที่อุณหภูมิต่ำ จากนั้นทำให้สปริงนี้ร้อนขึ้นสปริงจะหดกลับรูปเดิม อย่างไรก็ตามถ้าเราทำให้สปริงเย็นลงอีกครั้งสปริงจะหดตัวอยู่อย่างนั้น (ภาพ(a)) ปรากฏการณ์การจดจำรูปอีกแบบหนึ่ง เรียกว่า การจำรูปแบบสองทิศทาง (Two-way Shape Memory Effect) ถ้าเรานำสปริงจำรูปแบบสองทิศทางที่เดิมหดสั้นที่อุณหภูมิต่ำมาทำให้ร้อนขึ้นสปริงจะยืดออกเองโดยอัตโนมัติและถ้าเราทำให้สปริงเย็นลงอีกครั้งสปริงจะหดตัวกลับเองโดยอัตโนมัติเช่นกัน (ภาพ(b)) จะเห็นว่าโลหะจำรูปแบบ 2 ทิศทางสามารถเปลี่ยนรูปร่างกลับไปกลับมา 2 แบบได้โดยใช้การเพิ่มหรือลดอุณหภูมิเท่านั้น ที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งคือเราสามารถ “ฝึกสอน” โลหะจำรูปแบบทิศทางเดียวให้กลายเป็นแบบสองทิศทางได้โดยใช้กระบวนการเชิงกล–ความร้อน (Thermo-mechanical Treatment)

รูปที่ 7 แผนภาพเปรียบเทียบ a) การจำรูปแบบทิศทางเดียว b) การจำรูปแบบสองทิศทาง[3]

การฝึกสอนโลหะจำรูปทิศทางเดียวให้มีความจำเพิ่มขึ้นโดยกระบวนการฝึกสอนโลหะจำรูปมีความจำแบบสองทิศทาง (TWSM Training) เป็นการใช้กระบวนการทางกล-ความร้อนการฝึกสอน คือ การจำกัดจำนวนของมาร์เทนไซต์ที่สามารถเกิดขึ้นเมื่อวัสดุถูกทำซ้ำที่อุณหภูมิร้อน-เย็นต่ำกว่าอุณหภูมิวิกฤติ

รูปที่ 8 การเปลี่ยนแปลงรูปร่างของโลหะจำรูป 
One way shape memory effect (ด้านซ้าย) และ Two way shape memory effect (ด้านขวา) [4]

รูปที่ 9 ภาพขั้นตอนการฝึกโลหะจำรูป [5]

ส่วนใหญ่การฝึกความจำสองทิศทางนั้นจะทำหลายๆครั้ง ซึ่งการ Training จำนวนหลายครั้งจะทำให้เปอร์เซ็นความเครียด (%Strain) มีค่ามากขึ้นแต่จำกัดที่ประมาณ 8% และทำได้กับอัลลอยด์บางชนิดเท่านั้นและถ้าเราใช้ไปนานๆก็จะเกิดการเสื่อมสภาพของอัลลอยด์ได้โดยการเสื่อมสภาพจะขึ้นกับวัฏจักรของการให้ความร้อน

สภาพยืดหยุ่นยิ่งยวด (Super Elasticity) เป็นคุณสมบัติเหมือนยางคือเมื่อให้แรงหรือเปลี่ยนรูปโลหะไปแล้วโลหะจะคืนรูปกลับเหมือนเดิมเพียงแค่ปล่อยแรงออกภายใต้เงื่อนไขบางประการโลหะจำรูปอาจแสดงการจำรูปได้โดยไม่ต้องมีอุณหภูมิเข้ามาเกี่ยวข้องซึ่งเรียกว่าสภาพยืดหยุ่นยิ่งยวด (Super Elasticity) โลหะยืดหยุ่นยิ่งยวดอาจถูกดัดงอหรือดึงยืดได้มากๆ (อาจสูงได้ถึง 8% เทียบกับโลหะปกติส่วนใหญ่ซึ่งมีช่วงยืดหยุ่นต่ำกว่า 1%) และสามารถคืนรูปร่างเดิมได้โดยเพียงการปล่อยแรงที่กระทำ

ทั้งสองคุณสมบัตินี้เกิดขึ้นโดยอาศัยการเปลี่ยนโครงสร้างของโลหะที่เรียกว่า Martensitic Transformation โดยการเปลี่ยนโครงสร้างผลึกภายในจะมีกลไกที่ไม่เหมือนโลหะทั่วไปโดย SMA จะทำให้เกิดการเฉือน (Shear Strain) ได้โดยไม่จำเป็นต้องมี Slip Deformation ในโลหะจำรูป (Shape Memory Alloys, SMA) มีหลายประเภท เช่นTi-Ni, Au-Cd, Cu-Zn, Fe-Pt, Pe-Pd, Ni-Al และอื่นๆแต่ที่เป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุดก็คือโลหะผสม Ti-Ni เนื่องจากมีคุณสมบัติทางกลที่ดีและเสถียรที่สุด

4 การใช้งานโลหะจำรูป
ในปัจจุบันการใช้งานวัสดุจำรูปสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆตามสมบัติการใช้งานคือแบบใช้สมบัติความยืดหยุ่นยิ่งยวด (Super Elasticity) และแบบใช้สมบัติจำรูป (Shape Memory Effect) [2]
สมบัติความยืดหยุ่นยิ่งยวด (Super Elasticity) คือสมบัติในการคืนรูปเมื่อปล่อยแรงที่มากระทำต่อวัสดุจำรูปในปัจจุบันที่การพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยใช้สมบัติความยืดหยุ่นยิ่งยวดของโลหะจำรูปเพื่อการใช้งานในท้องตลาดทั่วไปอย่างเช่นกรอบแว่นตา, ชุดชั้นในสตรี, เสาอากาศโทรศัพท์มือถือ, ดังแสดงในรูป 10

รูปที่ 10 กรอบแว่นตาที่ผลิตมาจากโลหะจำรูปโดยใช้สมบัติความยืดหยุ่นยิ่งยวด[6]

ชิ้นส่วนอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น อุปกรณ์ทางทันตกรรมคือลวดจัดฟันดังที่แสดงในรูป 11 ซึ่งโดยปกติลวดจัดฟันทั่วไปจะทำมาจากโลหะเหล็กกล้าไร้สนิมซึ่งผู้จัดฟันจะต้องไปพบแพทย์ทุกสามถึงสี่อาทิตย์เพื่อทำการขยับเหล็กจัดฟันให้แน่นขึ้นเพื่อกำหนดทิศทางในการจัดฟันให้ได้รูปแบบที่ต้องการ แต่ลวดจัดฟันที่ทำมาจากโลหะจำรูปจะทำให้ระยะเวลาในการพบแพทย์ของผู้จัดฟันลดระยะจากสามถึงสี่อาทิตย์เป็นสามถึงสี่เดือน เนื่องมาจากความสามารถในการคืนรูปจะทำให้เหล็กดัดฟันจากโลหะจำรูปจะกดแน่นไปกับฟันจนกว่าจะคืนรูปได้ถึงรูปร่างเดิมซึ่งทำให้ระยะเวลาในการจัดฟันลดลงและเพิ่มความสะดวกให้กับผู้จัดฟันเนื่องจากลดระยะเวลาในการพบแพทย์

 รูปที่ 11 เหล็กจัดฟันที่ทำจากโลหะจำรูป NiTi [7]

การประยุกต์ใช้ทางการแพทย์ เช่น การใช้ทำตัวยึดเพื่อรักษาอาการกระดูกหักดังที่แสดงในรูป 12 ซึ่งใช้สมบัติความยืดหยุ่นยิ่งยวดของโลหะจำรูปในการยึดกระดูกที่แตกหักหรือร้าวเพื่อเชื่อมต่อกระดูกให้สมานกัน รูปที่ 13 เป็นตัวอย่างลวดนำทาง (Guide Wire) ซึ่งใช้สาหรับการผ่าตัดที่ต้องใช้สายสวน ซึ่งสมบัติยืดหยุ่นที่ดีของโลหะจำรูปทำให้ลวดนำทางสามารถซอกซอนเข้าไปในเส้นเลือดที่มีขนาดเล็กหรือใช้ในการผ่าตัดเส้นประสาทได้ดีกว่าการใช้ลวดโลหะโดยทั่วไป

รูปที่ 12 ตัวยึดกระดูก เพื่อใช้รักษาอาการกระดูกแตกหักหรือร้าว [8]

รูปที่ 13 ลวดนำทาง (Guide wire) สำหรับการผ่าตัดที่ต้องสอดสายสวน [1]

การใช้งานสมบัติการจดจำรูป (Shape Memory Effect) คือสมบัติจำรูปที่อุณหภูมิต่างๆโดยอาศัยสมบัติการเปลี่ยนโครงสร้างที่อุณหภูมินั้นๆทำให้วัสดุสามารถจำรูปและคืนรูปเมื่ออุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิในการเปลี่ยนโครงสร้าง ซึ่งสมบัตินี้ทำให้โลหะจำรูปถูกนำมาใช้เป็นวัสดุสำหรับผลิตผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิดทั้งอุปกรณ์ทางด้านการทหาร, อุปกรณ์ทางการแพทย์, และเครื่องมือเครื่องใช้ทั่วๆไปเช่นข้อต่อท่อจำรูปโดยใช้สำหรับทำลิ้นเปิดปิดพบมากในอุตสาหกรรมอากาศยานและเรือเดินสมุทร[1]แสดงไว้ในรูปที่ 14

รูปที่ 14 โลหะจำรูปที่ใช้สาหรับทำลิ้นเปิดปิดในอุตสาหกรรมอาศยานและเรือเดินสมุทร [1]

การใช้งานวัสดุจำรูปสำหรับทำข้อต่อในเครื่องบินรบแทนการเชื่อมช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการสวมประกอบและลดความเสียหายจากผลกระทบทางความร้อนจากการเชื่อมแสดงไว้ในรูปที่ 15 โดยที่ภาพบนเป็นข้อต่อที่สภาวะที่เป็นโครงสร้างมาร์เทนไซต์และภาพล่างเป็นภาพข้อต่อที่เป็นโครงสร้างออสเทนไนต์

 

 รูปที่ 15 Connector ในเครื่องบินรบ ภาพบนเป็นโครงสร้างมาร์เทนไซต์ ภาพล่างเป็นโครงสร้างออสเทนไนต์ [1]

สวิตช์ตัดไฟและระบบเปิดปิดไฟอัตโนมัติโดยผลิตจากโลหะจำรูปโดยใช้สมบัติการจำรูปของโลหะจำรูปทำให้เกิดการเปลี่ยนโครงสร้างที่อุณหภูมิสูงและเกิดการเปลี่ยนรูปร่างที่ทำให้สวิตช์ไฟฟ้าทำงาน[1]

รูปที่ 16 ระบบการทำงานของสวิตช์ตัดไฟหากเกิดการลัดวงจรไฟฟ้า
ภาพบนวงจรไฟฟ้าจะตัด ภาพล่างไฟฟ้าจะติดหากมีการเพิ่มอุณหภูมิ [1]

นอกจากนี้สมบัติจำรูปของโลหะจำรูปยังได้รับความนิยมในการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น อุปกรณ์ถ่างขยายหลอดเลือดทดแทนการทำบอลลูน ซึ่งการทำบอลลูนในอดีตใช้อุปกรณ์ถ่างขยายหลอดเลือดที่ทำจากเหล็กกล้าไร้สนิมซึ่งอาจสร้างความเสียหายแก่เนื้อเยื่อในระหว่างกระบวนการ

 รูปที่ 17 การถ่างขยายหลอดเลือดโดยใช้บอลลูน [7]

รูปที่ 18 อุปกรณ์ถ่างขยายหลอดเลือดแบบต่างที่ผลิตจาก NiTi

รูปที่ 19 ตัวอย่างการใช้ตัวถ่างขยายหลอดเลือดที่เส้นเลือดแดงใหญ่ [8]

รูปที่ 18 และรูปที่ 19 แสดงตัวอย่างตัวถ่างขยายหลอดเลือดที่ทำจากโลหะจำรูป ซึ่งทำให้การใช้งานสามารถลดระยะเวลาในการต่อบอลลูนเพื่อถ่างขยายหลอดเลือดลงโดยการใช้การต่อสายน้ำเกลือเพื่อปรับอุณหภูมิกว่าอุณหภูมิร่างกายและดำเนินการสอดตัวถ่างขยายเข้าไปในเส้นเลือดเมื่อเข้าไปถึงบริเวณที่เส้นเลือดอุดตันจะถอดสายน้ำเกลือออกเพื่อปรับอุณหภูมิให้เท่าอุณหภูมิร่างกายตัวถ่างขยายจะเปลี่ยนโครงสร้างกลับเป็นโครงสร้างออสเทนไนต์และขยายออกโดยในรูปที่ 20 แสดงตัวถ่างขยายหลอดเลือดที่ทำหน้าที่ดักจับลิ่มเลือดที่อาจเป็นสาเหตุของการอุดตันของเส้นเลือด รูปที่ 21 แสดงตัวอย่างลวดดักจับสิ่งแปลกปลอมในเส้นเลือดดำใหญ่วีนาคาวาซึ่งทำเป็นลักษณะคล้ายร่มโดยตัวโครงทำจากโลหะจำรูปและเมมเบรนของพอลียูริเทนเป็นเสมือนร่มที่หุ้มโครงด้านนอกไว้

 รูปที่ 20 อุปกรณ์ถ่างขยายหลอดเลือด[1]และกรองลิ่มเลือด [8]

 

รูปที่ 21 ลวดดักจับสิ่งแปลกปลอมในเส้นเลือดดำใหญ่ วีนาคาวา
ซึ่งทำจากโลหะจำรูปและพอลิยูริเทนเมมเบรน [8]

จะเห็นได้ว่าโลหะจำรูปเป็นวัสดุวิศวกรรมที่มีประโยชน์อย่างมาก ทำให้ในปัจจุบันโลหะจำรูปมีแนวโน้มในการใช้งานที่หลากหลายและกว้างขวางขึ้นทั้งในการใช้งานในอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น วาล์วเปิดปิดน้ำร้อน, สวิตช์ตัดไฟ, เครื่องชงกาแฟ และอุปกรณ์ที่ใช้ในทางการแพทย์

5 บทสรุป
ในปัจจุบันวัสดุจำรูป (Shape Memory Alloys; SMA) ถือเป็นวัสดุฉลาด (Smart Materials) ซึ่งได้รับความนิยมในการใช้งานหลากหลายประเภทเนื่องจากสมบัติที่สามารถคืนรูปได้เมื่อให้ความร้อนถึงอุณหภูมิที่เหมาะสม (Shape Memory Effect) หรือสามารถคืนรูปได้โดยการคลายตัวเมื่อปล่อยแรงที่มา (Super Elasticity) โดยปัจจัยหลักที่ทำให้โลหะจำรูปมีสมบัติที่โดดเด่น เกิดจาก 2 โครงสร้างหลักคือ “โครงสร้างออสเทนไนต์ (Austenite)” เป็นโครงสร้างที่มีความเสถียรที่อุณหภูมิสูงและ “โครงสร้างมาร์เทนไซต์ (Martensite)” เป็นโครงสร้างที่มีความเสถียรที่อุณหภูมิต่ำ โดยหลังจากอุณหภูมิลดลงและเกิดการคายความร้อนออกโครงสร้างของโลหะจำรูปจะเปลี่ยนเป็นโครงสร้างมาร์เทนไซต์ที่เกิดตำหนิแบบทวิน (Twinned Martensite) ซึ่งเมื่อออกแรงกระทำกับโครงสร้างที่เป็นโครงสร้างทวินมาร์เทนไซต์จะทำให้โครงสร้างยืดออกกลายเป็นโครงสร้างดีทวินมาร์เทนไซต์ (Detwinned Martensite) โดยการจำรูปสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดคือ การจำรูปแบบทิศทางเดียว (One-way Shape Memory Effect) และการจำรูปแบบสองทิศทาง (Two-way Shape Memory Effect) ซึ่งเกิดจากการฝึกสอนด้วยกระบวนการเชิงกลร่วมกับทางความร้อน ซึ่งในปัจจุบันโลหะจำรูปได้รับการพัฒนาเพื่อการใช้งานอย่างหลากหลาย โดยสามารถแบ่งการใช้งานออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆตามสมบัติการใช้งาน คือ แบบใช้สมบัติความยืดหยุ่นยิ่งยวด (Super Elasticity) และแบบใช้สมบัติจำรูป (Shape Memory Effect) และการวิจัยเพื่อพัฒนาปรับปรุงโลหะจำรูป NiTi ให้เป็นโลหะผสมที่มีลักษณะเหมาะสมต่อการใช้งานมากขึ้นซึ่งหากการวิจัยและพัฒนาสำเร็จเราคงจะพบวัสดุโลหะจำรูปแพร่หลายมากขึ้นทั้งในวงการแพทย์และในท้องตลาด


เอกสารอ้างอิง
[1.] Darjan,“Shape memory alloy.”  Available Resource: mafija.fmf.uni-lj.si/seminar/files/2006_2007/ SMA.pdf (last check: 29th August 2011)
[2.] “Shape memory alloy.”  Available Resource:http://www.mtec.or.th (last check: 29th August 2011)
[3.] http://www.mne.eng.psu.ac.th/knowledge/student/SMA/effect.htm (last check: 29th August 2011)
[4.] http://en.wikipedia.org/wiki/Shape-memory_alloy (last check: 29th August 2011)
[5.] http://www.freepatentsonline.com/6889411.html (last check: 29th August 2011)
[6.] http://acad.vru.ac.th/form/var_29.pdf (last check: 29th August 2011)
[7.] http://www.mwit.ac.th (last check: 29th August 2011)
[8.] LorenzaPetrini and Francesco Migliavacca, “Review Article Biomedical Applications of Shape Memory Alloys”,2011
[9.] Georgia Institute of Technology, Exploring Shape Memory Alloys. 2007.
[10.] W. Huang , On the selection of shape memory alloys for actuators , Materials and Design 23 (2002) 11_19
[11.] “Shape memory alloy.”  Available Resource: http://www.hindawi.com/journals/jm/2011/ 501483/ (last check: 5th Sep 2011)
[12.] Bellouard, Y., Shape memory alloys for microsystems: A review from a material research, Available Resource: http://www.mate.tue.nl/mate/showabstract.php/8798 (last check: 5th Sep 2011)
[13.] “Shape memory alloy.”  Available Resource: http://club.truelife.com (last check: 5th Sep 2011)
[14.] Perspective. Materials Science and Engineering: A, 2008. 481-482: p. 582-589
[15.] Patoor, E., et al., Shape memory alloys, Part I: General properties and modeling of single crystals. Mechanics of Materials.38(5-6): p. 391-429
[16.] Xiong, J. Y., Y. C. Li, et al. (2008). "Titanium-nickel shape memory alloy foams for bone tissue engineering." Journal of the Mechanical Behavior of Biomedical Materials 1(3): 269-273.

Sexs oyuncakları fantezi ürünleri erotik shop Alışverişinizi İnternetten Yapmak İçin 5 Neden.
Online erotik shop’larda daha çok çeşit bulabilirsiniz, fiziksel mağazalarda genelde farklı ürün adedi 100’ü geçmez iken online sex shop’larda bu sayı 1000’leri geçebiliyor.
Online seks shop’larda kimse ile muhatap olmazsınız, kimse size görmeden, ne aldığınızı bilmeden rahatça alışveriş yapabilirsiniz.
Bu amaçla üretilen vibratör özel ten dokusuna yakın yumuşaklıktaki hammaddesi ve gerçek bir penise benzer tasarımı sayesinde neredeyse gerçeğinden ayırt edilemiyor.
Vibratörlere olan ilgi arttıkça seks oyuncakları üreticileri de ürünlerini geliştirmeye ve çoğaltmaya devam ediyor.
Nokta Sex Shop introduces its e-commerce site Innovative Soweto adult entertainment retailer Sex Shop İstanbul introduces its e-commerce site https://www.noktashop.org