Home    |    Contact us    |    Features     |    Links       

X-Ray Analytical Microscope

Horiba : XGT-2000W

กล้องจุลทรรศน์รังสีเอกซ์ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ในช่วงของรังสีเอกซ์พลังงานต่ำ ในการทำให้มองเห็นภาพวัตถุที่มีขนาดเล็กมาก ซึ่งแตกต่างจากกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง เนื่องจากรังสีเอกซ์มีการสะท้อนและการเลี้ยวเบนได้น้อยกว่า รวมทั้งตาของเราก็ไม่สามารถมองเห็นด้วย ดังนั้นหลักการของกล้องจุลทรรศน์รังสีเอกซ์ จึงเป็นการฉายรังสี ที่เกิดจากการส่องผ่าน หรือสะท้อนจากตัวอย่าง ลงบนฟิล์ม หรือใช้ charge-coupled device (CCD) ในการจับภาพ

รังสีเอกซ์ที่เหมาะสำหรับการใช้ถ่ายภาพจุลทรรศน์ เป็นรังสีเอกซ์พลังงานต่ำ ต้นกำเนิดรังสีเอกซ์ที่มีพลังงานช่วงนี้ ได้แก่ รังสีจากเครื่องเร่งอนุภาคแบบซินโครตรอน (synchrotron) ซึ่งมีช่วงของความยาวคลื่นที่พอเหมาะ การถ่ายภาพจุลทรรศน์ด้วยรังสีเอกซ์พลังงานต่ำอีกวิธีหนึ่ง คือ คือการทำให้เกิดภาพโดยเทคนิคส่องกราดลำรังสีเอกซ์ที่ส่องผ่าน (scanning transmission X-ray) วิธีนี้เป็นการโฟกัสลำรังสีเอกซ์ให้ไปรวมกันที่จุดเดียว แล้วเคลื่อนวัตถุให้เลื่อนกวาดไปมา รังสีเอกซ์ที่ทะลุผ่านไปในแต่ละจุด จะวัดด้วยเครื่องแบบเครื่องวัดรังสีแบบ proportional counter หรือ avalanche photodiode

ประสิทธิภาพในการแยก (resolution) ของกล้องุจุลทรรศน์รังสีเอกซ์ อยู่ระหว่างกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง กับ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน แต่มีข้อได้เปรียบกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน ตรงที่ไม่ต้องผ่านกระบวนการเตรียมชิ้นงาน สามารถดูภาพของตัวอย่างทางชีววิทยาในแบบธรรมชาติได้โดยตรง