Differential Thermal Analysis (DTA)ชื่อเครื่องมือ: เครื่องมือวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางความร้อน (Differential Thermal Analysis, DTA) บริษัท Perkin Elmer รุ่น DTA7 หลักการทำงาน: การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางความร้อนของวัสดุ ใช้หลักการทำงานโดยเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของสารตัวอย่างกับสารอ้างอิงโดยที่สารอ้างอิงนี้จะต้องมีความเฉื่อยต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในย่านที่จะทําการศึกษาดังแสดงในรูปที่ 1 ในขณะที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ต้องควบคุมสารตัวอย่างและสารอ้างอิงให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน เช่น การเพิ่มอุณหภูมิของสารด้วยอัตราการเพิ่มอุณหภูมิที่แน่นอนแล้วตรวจสอบความแตกต่างของอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงของสารตัวอย่างเทียบกับสารอ้างอิงที่อาจเกิดขึ้นได้ จากการเปลี่ยนแปลงพลังงานของสารตัวอย่าง โดยจะปรากฏออกมาในรูปของความร้อน ถ้าอุณหภูมิของตัวอย่างต่ำกว่าสารอ้างอิงแสดงว่าเกิด การเปลี่ยนแปลงแบบดูดความร้อน (Endothermic) แต่ถ้าอุณหภูมิของตัวอย่างสูงกว่าสารอ้างอิงแสดงว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงแบบคายความร้อน (Exothermic) ซึ่งเป็นผลของการเปลี่ยนเฟส (Phase transition) หรือ การเกิดปฏิกิริยาทางเคมี (Chemical reaction) ดังแสดงในรูปที่ 2 รูปที่ 1 หลักการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของสารตัวอย่างกับ สารอ้างอิง รูปที่ 2 ลักษณะของผลการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางความร้อน (Differential Thermal Analysis, DTA) ลักษณะของผลที่ได้: กราฟความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิที่แตกต่าง (DT) และอุณหภูมิหรือเวลา (T, time)
การประยุกต์ใช้งาน: เป็นเครื่องวิเคราะห์คุณสมบัติทางความร้อนของวัสดุ เช่น จุดเดือด จุดหลอมเหลว สามารถวิเคราะห์พลาสติก พอลิเมอร์ ยา โปรตีนจากเนื้อสัตว์ เหล็ก ดินเหนียวและเคลย์ เป็นต้น แต่วัสดุที่นำมาทดสอบต้องไม่หลอมหรือละลายติดภาชนะที่นำเข้าเครื่อง (Crucible) ลักษณะตัวอย่างที่ทำการทดสอบ: ถ้าสารตัวอย่างที่จะทำการวิเคราะห์อยู่ในรูปแบบของแข็งต้องบดให้เป็นผงละเอียด ขนาดอนุภาคเล็กกว่า 325 mesh (45µm) ถ้าสารตัวอย่างอยู่ในรูปแบบของเหลวสามารถชั่งน้ำหนักได้เลย โดยให้มีน้ำหนักใกล้เคียงกับสารอ้างอิงความคลาดเคลื่อน ± 0.0025กรัม ติดต่อสอบถามเพื่อรับ บริการ วิเคราะห์ ทดสอบ วัสดุ และ สมบัติวัสดุ: ศูนย์นวัตกรรมวัสดุ ชั้น 3 อาคารชูชาติ กำภู คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 50 ถ.งามวงศ์วาน ลาดยาว จตุจักร กรุงเทพฯ 10900
|